5 วิธีช่วยลดความกลัวสังคมบนโต๊ะโป๊กเกอร์

5 วิธีช่วยลดความกลัวสังคมบนโต๊ะโป๊กเกอร์

5 วิธีช่วยลดความกลัว

สังคมบนโต๊ะโป๊กเกอร์!!!

คุณเป็นโรคกลัวสังคมเวลานั่งอยู่บนโต๊ะโป๊กเกอร์หรือเปล่า ผมมี 5 ไอเดียดีๆที่จะช่วยให้คุณคลายความรู้สึกนั้นขณะอยู่บนโต๊ะโป๊กเกอร์ได้

1.ลองคิดว่าอะไรคือสิ่งที่แย่ที่สุดที่อาจเกิดขึ้นใน Live Poker

ไม่มีใครอยากแพ้ และถ้าคุณมัวแต่คิดเรื่องนั้นยิ่งมีแต่จะทำให้คุณมีโอกาสแพ้มากกว่าจะชนะ ซึ่งเป็นสิ่งที่แย่มากๆ ผู้เล่นที่ยอดเยี่ยมเชื่อในความสามารถที่จะชนะของตนเอง แต่พวกเขาก็เข้าใจว่าเรื่องดวงก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลเช่นกัน ดังนั้นการคิดว่าคุณจะแพ้ในระยะสั้นแต่จะชนะในระยะยาว จะช่วยให้ใจของคุณสงบลงได้แม้ว่าคุณจะกำลังอยู่ท่ามกลางความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่

สิ่งเหล่านี้ช่วยเรื่องของการกลัวหรือวิตกกังวลทางสังคมเช่นกัน ลองคิดดูว่าคุณกลัวอะไร อะไรทำให้คุณรู้สึกเช่นนั้น คุณไม่ได้กลัวสิ่งที่คนอื่นทำหรอก สิ่งที่คุณกลัวคือความรู้สึกที่ก่อตัวออกมาจากคุณเอง เช่นความประหม่า ความอับอาย และคุณเป็นเจ้าของความรู้สึกเหล่านั้น คุณสามารถเปลี่ยนมันได้

2.เปลี่ยนความเชื่อของคุณ เปลี่ยนความรู้สึกของคุณ

ลองจินตนาการว่าภรรยาในวัย 30 ปีของคุณบอกคุณว่าเธอต้องการหย่าร้างและแอบคบกับเพื่อนสนิทของคุณเป็นเวลาหลายปี เชื่อว่าคุณคงรู้สึกโกรธ สงสารตัวเองและอับอาย

และตอนนี้ลองจินตนาการว่าภรรยาในวัย 30 ปีของคุณบอกคุณว่าเธอต้องการหย่าร้างและแอบคบกับเพื่อนสนิทของคุณเป็นเวลาหลายปี และคุณพบว่าที่จริงแล้วเธอเป็นฆาตกรต่อเนื่องด้วย คุณจะรู้สึกอย่างไร ผมเดาว่าคุณคงรู้สึกโล่งใจและดีใจ มันเป็นความรู้สึกที่คุณสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการถูกทิ้ง

ลองคิดดูสิ ไม่มีอะไรที่ใครบนโต๊ะโป๊กเกอร์ทำและสามารถส่งผลต่อคุณได้ มีเพียงคุณเท่านั้นที่สามารถสร้างอารมณ์เชิงลบเพื่อตอบสนองต่อการกระทำของพวกเขา

นี่คือโป๊กเกอร์ ผู้คนจะพยายามและเข้าไปในจิตใจและความรู้สึกของคุณ จงเปลี่ยนความเชื่อของคุณและมันจะช่วยเปลี่ยนความรู้สึกของคุณ

3.สร้างลำดับชั้นการเปิดรับข้อมูลของคุณ

เขียนสถานการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในใจของคุณและจดลงบนกระดาษ และให้คะแนนสิ่งที่คุณกลัวมากสุดไปหาน้อยสุด

และลองเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ให้เป็นเกมภายในเกม โดยลองเผชิญกับสิ่งที่คุณกลัวน้อยที่สุดในรายการของคุณและตั้งเป้าหมายที่จะท้าทายตัวเองเพื่อให้ผ่านไปได้จนชิน จากนั้นเลื่อนระดับความท้าทายของคุณขึ้นไปรายการที่คุณกลัวอันดับต่อๆไป

4.อย่าโฟกัสไปที่ตัวเอง

“ฉันรู้สึกกลัว”

“ฉันไม่อยากรู้สึกอับอาย”

“ฉันไม่อยากถูกมองว่าโง่”

“ฉันจะใส่อะไรดี”

สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่โฟกัสไปที่ตัวคุณเอง หากคุณให้ความสำคัญกับตัวเอง คุณจะเริ่มรู้สึกประหม่า และเป็นไปได้ว่าคนอื่นๆกำลังเป็นแบบเดียวกัน และทำให้เกิดการสนทนาที่น่าอึดอัดซึ่งกระตุ้นความวิตกกังวลมากขึ้นอีก คุณลองสนใจไปที่ผู้อื่น ฟังผู้อื่น ถ้าไม่อยากพูดก็พยักหน้า หากคุณไม่รู้ว่าจะพูดอะไรให้ทบทวนประโยคสุดท้ายที่พวกเขาพูดกลับไปและมันจะเป็นตัวกระตุ้นให้พวกเขาพูดต่อไป การทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มความภาคภูมิใจในตนเองของผู้อื่นและช่วยให้การสนทนาลื่นไหลได้ดีด้วย

5.EFT (Emotional Freedom Technique)

หากคุณลองข้อ 1-4 และยังคงสั่นคลอนอยู่ ให้ไปฝึกเทคนิคการปลดปล่อยอารมณ์ (EFT) เป็นการกดจุดทางจิตใจรูปแบบหนึ่งโดยใช้นิ้วแทนเข็มช่วยคลายการอุดตันภายในระบบพลังงานของคุณ เช่นความวิตกกังวลและความกลัว ผมรู้ว่ามันดูนอกเรื่องไปหน่อย แต่ก่อนที่คุณจะเริ่มอ่านสิ่งนี้แสดงว่าคุณกังวลเกี่ยวกับการพูดคุยกับคนอื่นและการเข้าสังคมใช่ไหมล่ะ ฉะนั้นลองดูก็ไม่เสียหาย แต่อย่าลืมว่าไปลองที่ไม่ใช่บนโต๊ะนะ ไม่เช่นนั้นคุณอาจจะทำให้คนอื่นๆรู้สึกกังวลไปด้วย